เสียงสัมผัสในกลอน
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

การเลือกใช้ถ้อยคำที่มีเสียงสัมผัสและเสียงท้ายวรรคที่เหมาะสมเป็นเสน่ห์และความไพเราะของบทกลอน นักกลอนหลายๆท่านได้แนะนำการใช้เสียงสัมผัสและเสียงท้ายวรรคไว้ต่างๆ
อีกทั้งได้ศึกษาจากบทกลอนของบรมครูสุนทรภู่และนักกลอนผู้มีชื่อเสียงหลายๆท่านเป็นตัวอย่างที่ดี
ซึ่งรวบรวมไว้เป็นตัวอย่างดังนี้

 

.

.

เสียงสัมผัสในกลอน 
กลอนเสภา 
กลอนดอกสร้อย 
กลอนสักวา 

 

 

 

เสียงท้ายวรรคของกลอนแปด

เสียงท้ายวรรคในที่นี้หมายถึงเสียงวรรณยุกต์
๑. คำสุดท้ายวรรคสดับใช้ได้ทั้ง ๕ เสียง
แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
๒. คำสุดท้ายวรรครับ ห้ามใช้เสียงสามัญ
และนิยมว่าเสียงจัตวาไพเราะที่สุด
 ๓. คำสุดท้ายวรรครองนิยมเสียงสามัญ    
๔. คำสุดท้ายวรรคส่ง นิยมใช้เสียงสามัญ
อ้างอิง  :ประยงค์  อนันทวงศ์.กลอนและวิธีเขียนกลอน(ชนะประกวด).รวสาส์น,๒๕๓๗

เสียงสัมผัสสระ

 การใช้เสียงสัมผัสสระในวรรค
นักกลอนต่างยอมรับกันว่าจะทำให้
กลอนมีความไพเราะ มีแบบ
ต่างๆดังนี้ี
 ๑. เคียง สัมผัสสระเรียงกัน ๒ คำ เช่น           
จะเปรียบสองปองปานกันดารตา
๒. เทียบเคียง  สัมผัสสระเรียงกัน ๓ คำเช่น
ขอพบชาติหน้าใหม่ให้ได้ถนอม
 ๓.ทบเคียง  สัมผัสสระชิดกัน ๒ คู่เช่น          
 ดูคมขำน้ำนวนยวนสวาท
๔. เทียบแอก  สัมผัสปลายวรรคที่มีเสียงอื่น
คั่นอยู่ ๑ เสียง เช่น
 จะเปรียบสองปองปานกันดารตา
๕.แซกเคียง  สัมผัสต้นวรรคหรือกลางวรรค
ที่มีเสียงอื่นคั่น ๑ เสึยง เช่น
 พระยาครุฑฟังนุชสนองคำ
๖. แซกแอก  สัมผัสสระที่มีเสียงสระอื่นคั่น    
อยู่ ๒ เสียง เช่น
ไม่สมมาตรเหมือนที่คาดคะเนฟัง
                ที่มา: สุภาพร  มากแจ้ง.กวีนิพนธ์ไทย.โอเดียนสโตร์,๒๕๓๕

เสียงสัมผัสอักษร

สัมผัสอักษรในวรรคเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ที่ทำให้บทกลอนไพเราะขึ้นมีแบบอย่าง
ต่างๆดังนี้
๑. คู่   สัมผัสอักษรเรียงกัน ๒ คำ เช่น            
แม่ป้องปัดความยากทุกข์ที่ขุกเข็ญ
                                ณัฐวัสส์  ดาวเรือง
๒.เทียบคู่   สัมผัสอักษรเรียงกัน ๓ คำู่เช่น   
 ผุดผ่องผาดพึงพิศพินิจผอง
๓. เทียมรถ สัมผัสอักษรเรียงกัน ๔คำเช่น  
ช่างโดดเดี่ยวเด็ดได้หนอใจไฉน
๔. เทียบรถ สัมผัสอักษรเรียงกัน ๕ คำ เช่น
มาโรยร่วงแรมรสเรณูนวล
๕. ทบคู่ สัมผัสอักษรเรียงกัน ๒ คู่ เช่น        
เสียดายดวงพวงพุ่มโกสุมสงวน
๖. แซกคู่ สัมผัสอักษร ที่มีคำอื่นคั่นกลาง  
๑ คำเช่น
ดังเทียนดับวับเดียวประเดี๋ยวใจ
๗. แซกรถ สัมผัสอักษรที่มีคำอื่นคั่นกลาง  
๒ คำ เช่น
 สักคำน้อยมิให้แหนงระแวงโสต
               ที่มา: สุภาพร  มากแจ้ง.กวีนิพนธ์ไทย.โอเดียนสโตร์,๒๕๓๕

 

 

 

 

 

 .จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.